Monday, December 12, 2016

พระกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9

1.โครงการแกล้งดิน



แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว จะทำด้วยการขังน้ำไว้ในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาทางเคมีจนทำให้ดินเปรี้ยวจัด เมื่อถึงที่สุดแล้ว จะมีการระบายน้ำออกแล้วปรับสภาพดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งสามารถใช้ดินในการเพาะปลูกได้










2.โครงการปลูกหญ้าแฝก 


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำจากเอกสารของธนาคารโลก ที่นาย Richard Grimshaw ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย และพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก โดยให้ทรงทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน จนปัจจุบันมีหน่วยงานกว่า 50 หน่วยงาน ดำเนินงานสนองพระราชดำริการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ส่งผลให้การดำเนินงานก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ









3.แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง:เกษตรทฤษฎีใหม่



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นต้น โดยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นได้แก่ ขั้นต้น คือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตรา 30-30-30-10 เพื่อขุดเป็นสระกักเก็บน้ำ 30% ปลูกข้าวในฤดูฝน 30% ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร 30% และเป็นที่อยู่อาศัยอีก 10%

จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง คือการให้เกษตรกรรวมกันในรูปแบบของกลุ่ม สหกรณ์ เพื่อดำเนินการในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม คือการติดต่อประสานงาน จัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อใช้ลงทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป









4.โครงการฝนหลวง


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริส่วนพระองค์ในเรื่องการจัดทำฝนหลวง เพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร โดยมีการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น ซึ่งจะใช้สารเคมีโปรยในท้องฟ้า จนกระทั่งไอน้ำอิ่มตัวและกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝน








5.กังหันน้ำชัยพัฒนา


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำชัยพัฒนาขึ้น เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี และสามารถประยุกต์ใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และเพิ่มออกซิเจนให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร











Wednesday, October 5, 2016

My local

Nakhon  SiT hammarat

     It is one of the most ancient cities of Thailand, previously the Kingdom of Ligor, and contains many buildings and ruins of historical significance. The king of Srivijaya "had established a foothold on the Malay Peninsular at Ligor" by 775, where he "built various edifices, including a sanctuary dedicated to the Buddha and to the Bodhisattvas Padmapani and Vajrapani." [1]:84–85,91 With the fall of the Siamese capital of Ayutthaya in 1767 it regained independence, but returned to its allegiance on the founding of Bangkok. In the 17th century British, Portuguese, and Dutch merchants set up factories there and carried on an extensive trade. Its origins are not fully known. Most historians recognize the Tambralinga Kingdom of Chinese records as a precursor of Nakhon Si Thammarat. The town chronicles of this time are hardly separable from legend, but they do tell of an abandonment and refounding of the town, which would explain the break in history between Tambralinga and Nakhon Si Thammarat. References to a country named Poling appear in Chinese chronicles from the Tang dynasty period down to the early Ming dynasty. Many scholars identify Poling with Maling and Danmaling was one of the member-states of Sanfoqi (the Chinese equivalent to Srivijaya) in the central part of the Malayu Peninsula or today southern Thailand. Poling may also be equated to the Tambralingarat (Tambralinga State) that appears in Indian sources. By the end of the 12th century, Tambralinga had become independent of Srivijaya Kingdom. Its rapid rise to prominence from the 13th century to the beginning of 14th century, Tambralinga had occupied the entire Malay Peninsula and become one of the dominant south-east Asian states. By the end of the 14th century, Tambralinga had become a part of Siam (now Thailand) named Nakhon Si Thammaraj. At the time of the Sukhothai Kingdom, the Nakhon Si Thammarat Kingdom was already listed as one of the kingdoms under control of the Thai, which it has remained during most of its history. It was usually known as Ligor to European merchants in the 16th century. During the period of the five separate states following the fall of Ayutthaya in 1767, the Prince of Nakhon Si Thammarat made an abortive bid for independence, but was pardoned by Taksin and retired to Thonburi. At the end of the 19th century, the kingdom was finally fully absorbed into Siam by converting it into the Monthon Nakhon Si Thammarat. When the monthon system was abolished in 1932, the town became a provincial capital.




Chang Klang District





Amphoe location in Nakhon Si Thammarat Province
Coordinates: 8°22′27″N 99°34′5″E
Country Thailand
ProvinceNakhon Si Thammarat
SeatChang Klang
Area
 • Total232.5 km2 (89.8 sq mi)
Population (2005)
 • Total29,594
 • Density127.3/km2 (330/sq mi)
Time zoneTHA (UTC+7)
Postal code80250
Geocode8022
Chang Klang (Thai: ช้างกลาง) is a district (Amphoe) of Nakhon Si Thammarat Province,southern Thailand.

HistoryEdit

The district was created on July 15, 1996 by splitting the three นsoutheastern tambon fromChawang district.[1]
Following a decision of the Thai government on May 15, 2007, all of the 81 minor districts were to be upgraded to full districts.[2] With the publishing in the Royal Gazette on August 24 the upgrade became official .[3]

GeographyEdit

Neighboring districts are (from the north clockwise) ChawangLan SakaThung Songand Na Bon.

AdministrationEdit

The district is subdivided into 3 subdistricts (tambon), which are further subdivided into 35 villages (muban). There are no municipal (thesaban) areas, and 3 Tambon administrative organizations (TAO).

No.NameThai nameVillagesInh.    
1.Chang Klangช้างกลาง1716,989
2.Lak Changหลักช้าง107,581
3.Suan Khanสวนขัน185,024

Recommend Menu from Nakhon Si Thammarat

               Kanom Jeen  Nam  Ya


                                 
                         Khao  Yam

                        Sour  soup 


                     Chingcan


                              Fish organs sour  soup 


Top Tourist attractions in Nakhon  Si  Thammarat 

Chang Klang District


1.Namtok Tapea
2.Namtok Soun Ay
3.Namtok Sounkhun
4.Wad Sounkhun
5.Wad  Tatnoi
6.kaomhen Viewpoint 



Saturday, July 30, 2016

วันแม่แห่งชาติ

  วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันแม่ ภาษาอังกฤษ คือ Mother Day ซึ่งวันนี้ถือตามวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้ลูก ๆ ทุกคนควรรำลึกถึงพระคุณของแม่  
วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วันแม่ ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย
 แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า “ดอกมะลิ” สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา
สัญลักษณ์ประจำวันแม่

ดอกมะลิ

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
  1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
  2. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
  3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
  4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่


กลอนวันแม่



คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้

Friday, June 24, 2016

แนวทางการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา


     คณะวิศวกรรมศาสตร์

รายละเอียดของคณะ


คณะวิศวกรรมศาสตร์ คือ สาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์ เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติ และทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ ใช้วัสดุโครงสร้างเครื่องจักร เครื่องมือระบบ และกระบวนการ เพื่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ ซึ่งสาขาในคณะวิศวกรรมนั้น ก็มีอย่างหลากหลาย ผู้ที่สนใจเรียนคณะนี้ แน่นอนว่าก็ต้องชอบเรียน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ชอบการคำนวณต่างๆ มีความคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอ เพื่อนำมาซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศชาติได้

สาขาที่เปิดสอน

วิศวกรรมนาโน
วิศวกรรมการออกแบบและ
การผลิตยานยนต์
วิศวกรรมอากาศยาน
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมยานยนต์
วิศวกรรมเรือ
วิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
วิศวกรรมปิโตรเลียม
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
วิศวกรรมสำรวจ
วิศวกรรมโลหการและวัสดุ
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมพอลิเมอร์
วิศวกรรมอาหาร
วิศวกรรมเซรามิก
วิศวกรรมแมคาทรอนิกส์
วิศวกรรมระบบควบคุม
วิศวกรรมนอกฝั่งทะเล
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
วิศวกรรมชีวการแพทย์
วิศวกรรมโทรคมนาคม


คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย (ม.6) สายวิทยาศาสตร์
มีความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และ
ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
มีไหวพริบปฏิภาณดี
ชอบการคิดคำนวณต่างๆ
มีทักษะทางด้านช่าง
 มีความสามารถใน
การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี


แนวทางการประกอบอาชีพ

การประกอบอาชีพผู้ที่จบ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สามารถทำงานในหน่วยงาน
ราชการต่างๆ เช่น
กระทรวงอุตสาหกรรม
 กระทรวงคมนาคม
สำนักงานการพลังงานแห่งชาติ  กรมชลประทาน  กรมโยธาธิการ
หรือทำงานในรัฐวิสาหกิจ
 เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
 การไฟฟ้านครหลวง
 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
องค์การโทรศัพท์
 การสื่อสารแห่งประเทศไทย
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
 โรงงานยาสูบ
หรือทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
หรือหน่วยงานภาคเอกชน
หรือทำงานตามสาขาวิชาที่จบมา
 ซึ่งก็จะเป็นวิชาชีพเฉพาะสาขานั้นๆเลย
นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อ
ปริญญาโทและปริญญาเอกทั้งในและ
ต่างประเทศได้ด้วย


สถาบันที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า              
สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า               
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์              
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา              
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ              
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล              
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี      

คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้     คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้